รับหิ้วของต่างประเทศเสียภาษีเท่าไหร่
article created at icon02/08/62

|

อ่านแล้ว 320 ครั้ง

รับหิ้วของต่างประเทศเสียภาษีเท่าไหร่

หิ้วเก่ง! ปี 2562 นี้รับหิ้วแบบไหน เสียภาษี และต้องเสียเท่าไหร่?

     การเดินทางต่างประเทศ ถือเป็นเรื่องง่ายในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น นอกจากการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศแล้ว เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเราเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ ต้องมีการซื้อสินค้าต่างๆ กลับมายังประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นของฝากให้เพื่อน ญาติ คนรู้ใจ หรือ สิ่งของจำเป็นที่ต้องใช้ เป็นต้น และในวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมาทางกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า ได้มีการทบทวนเรื่องการยกเว้นภาษีพัสดุไปรษณีย์จากต่างประเทศ และ สินค้านำเข้าทางไปรษณีย์และพัสดุเร่งด่วน ที่มีราคาต่ำกว่า 1,500 บาท จะมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%(VAT) เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการหลบเลี่ยงการจ่ายภาษีเป็นจำนวนไม่น้อย โดยจะเริ่มการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มการนำเข้าสินค้าออนไลน์จากต่างประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2562 โดยเบื้องต้นอาจจะแยกกลุ่มของการเก็บภาษี ซึ่งจะแบ่งเป็น
-  สำหรับคนที่สั่งซื้อสินค้าราคาต่ำกว่า 1,500 บาท เพื่อนำมาใช้ส่วนตัวเป็นของตัวเองจะได้รับยกเว้นภาษี
-  สำหรับนำเข้ามาเพื่อค้าขาย ถึงแม้จะต่ำกว่าราคา 1,500 บาท จะต้องเสียภาษีทั้งหมดไม่มียกเว้น
 
รับหิ้วสินค้าต่างประเทศ ระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
 
     นอกจากการสั่งซื้อออนไลน์แล้ว การเลือกซื้อสินค้าต่างๆ เข้ามาด้วยตัวเอง ก็มีข้อกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกัน ซึ่งทุกวันนี้มีความเข้มงวดในส่วนของการเก็บภาษีขาเข้าสำหรับผู้ที่เดินทางโดยท่าอากาศยาน โดยการแสกนกระเป๋าเดินทางทุกใบ พร้อมทั้งทางเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบวัตถุต้องห้ามในการนำเข้า อย่าง ยาเสพติด และสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ เพื่อป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีสำหรับสินค้านำเข้า โดยที่ผู้โดยสารได้รับยกเว้นอากรสำหรับของส่วนตัวเพื่อใช้เอง หรือใช้ในวิชาชีพมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท และต้องไม่เป็นของต้องห้าม และของต้องมีใบอนุญาต ได้แก่ ยาและอาหารเสริม สัตว์เลี้ยง เครื่องสำอาง อาวุธปืน พืช และโดรน สำหรับผู้โดยสารที่นำของที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท หรือของที่เป็นลักษณะเชิงพาณิชย์ถึงแม้จะมีมูลค่าไม่เกิน 20,000 บาท ต้องเสียภาษีอากร
 

วิธีการคำนวณค่าภาษี

     สำหรับอัตราภาษีอากรนำเข้า จะแตกต่างกันตามชนิดและประเภทสินค้า อาทิ กระเป๋า 20% นาฬิกา 5% เครื่องสำอาง 30% เข็มขัด 30% เป็นต้น และ รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำนวณได้ดังนี้
 
ราคาสินค้า x อัตราภาษีขาเข้า = อากรขาเข้า
(ราคาสินค้า + อากรขาเข้า) x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องชำระ= อากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
ตารางอัตราภาษีอากรนำเข้าจากกรมศุลกากร
 
หิ้วของแบบไหนไม่เสียภาษี
     สำหรับผู้โดยสารที่ไม่มีของต้องสำแดง ของส่วนตัวมูลค่า ไม่เกิน 20,000 บาท และเป็นของที่ไม่มีลักษณะที่เป็นลักษณะทางการค้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 1 ลิตร หากบุหรี่สามารถนำเข้าได้ บุหรี่ไม่เกิน 200 มวน หรือ ซิการ์ หรือยาเส้นอย่างละ 250 กรัม หรือ หลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมด 250 กรัม แต่อย่างไรก็ตามบุหรี่ต้องไม่เกิน 200 มวน
 
ขั้นตอนการผ่านศุลกากรช่องแดง (ผู้โดยสารที่มีของต้องสำแดง ของส่วนตัวที่มีมูลค่าเกิน 20,000 บาท)
 
• นำกระเป๋าสัมภาระไปพบเจ้าหน้าที่
• เปิดกระเป๋าให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสัมภาระและสิ่งของ
• ศุลกากรนำไปประเมินราคาและภาษีอากร
• ชำระภาษีอาการ และรับใบเสร็จ
 
เลือกซื้อสินค้าจากต่างประเทศอัตราการเสียภาษี
 
     ก่อนเดินทางออกไปท่องเที่ยวทุกครั้งควรตรวจสอบข้อกฎหมาย และภาษีต่างๆ หากมีแพลนจะเลือกซื้อสินค้าต่างๆ กลับเข้ามาในประเทศว่าเป็นสินค้ามูลค่าสูงหรือไม่ หรือ ซื้อของฝากแบบเหมาะสม และสำหรับสายหิ้วก็ต้องเตรียมความพร้อมในการจ่ายค่าภาษีนำเข้าอากรเช่นเดียวกัน และที่สำคัญทุกครั้งที่เดินทางท่องเที่ยวก็อย่าลืมเลือกทำประกันเดินทางเพื่อความอุ่นใจและการป้องกันการเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ ในระหว่างเดินทางจะดีที่สุดนะครับ สนใจเช็คเบี้ยประกันเดินทางกับเรา คลิกเลย โปรโมชั่นประกันเดินทาง
 
ข้อมูลจาก กรมศุลกากร : The Customs Department
 
 READ MORE : 
 

 

เช็คราคาแผนประกัน

กรอกข้อมูลเพื่อค้นหาแผนประกัน

ข้อมูลการเดินทาง

เส้นทางการเดินทาง *

ในประเทศ
ในประเทศ
ต่างประเทศ
ต่างประเทศ

รูปแบบการเดินทาง *

รายเที่ยว
รายเที่ยว
รายปี
รายปี

จำนวนคนเดินทางทริปนี้

ประเภทการเดินทาง *

ออกจากจังหวัด *

ไปยังจังหวัด *

วันเดินทางไป *

วันเดินทางกลับ *

TQM Bear
บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
TQM Logo
TQM Logo

บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด123 ถนนลาดปลาเค้า แขวงจรเข้บัว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230

facebook
line
youtube
twitter
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเลขที่ 0105540084143

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
เลขที่0105540084143

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยเลขที่ ว00019/2546

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย
เลขที่ว00019/2546

โทรศัพท์
โทรสาร
เวลาทำการ
จันทร์ - เสาร์ 8.30 - 17.30 น.
อีเมล
TQM Application
TQM IOS Application
TQM Android Application