ฝีดาษลิง ยังคงแพร่ระบาดในหลายประเทศทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่คงพบผู้ป่วยฝีดาษลิง แต่ทางกรมควบคุมโรคก็ได้ทำการเฝ้าระวังเพื่อป้องกันการระบาดของโรคฝีดาษลิงที่อาจจะเกิดขึ้น วันนี้พี่หมี TQM เลยนำข้อมูลเกี่ยวกับ แนวทางการเฝ้าระวัง โรคฝีดาษลิง ในประเทศไทยมาฝากเพื่อนๆ กันครับ

แนวทางการเฝ้าระวังฝีดาษลิง
กรมควบคุมโรค ได้ทำการออกแนวทางสำหรับการเฝ้าระวังโรค แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยสงสัย/เข้าข่าย/ยืนยันโรคฝีดาษลิง ดังนี้
1. ผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษลิง หมายถึง ผู้ที่มีอาการดังต่อไปนี้
-
ไข้สูงมากกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีประวัติไข้ ร่วมกับอาการป่วยอย่างน้อย 1 อาการ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต
-
หรือมีผื่นกระจายตามใบหน้า ลำตัว ลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด
-
มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน 21 วันที่ผ่านมา ได้แก่ ประวัติเดินทางมาจาก/อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการรายงานการระบาดของโรคฝีดาษลิงภายในประเทศ , ประวัติร่วมกิจกรรมในงานที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง หรือมีอาชีพที่ต้องสัมผัสคลุกคลีกับผู้เดินทางจากต่างประเทศเป็นประจำ , ประวัติสัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ ลิง หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนำเข้าจากทวีปแอฟริกา
2. ผู้ป่วยเข้าข่ายโรคฝีดาษลิง หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดดังต่อไปนี้
-
สัมผัสโดยตรงกับผิวหนังผู้ป่วย หรือสัมผัสสิ่งของที่อาจมีเชื้อปนเปื้อนของผู้ป่วย รวมถึงเสื้อผ้าผู้ป่วย
-
ผู้สัมผัสร่วมบ้านที่อาศัยอยู่ในห้องเดียวกันกับผู้ป่วย หรือใช้ห้องน้ำหรืออุปกรณ์ในห้องน้ำร่วมกับผู้ป่วย
-
ผู้สัมผัสที่อยู่ภายในห้องหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วยฝีดาษลิงในระยะ 2 เมตร
3. ผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิง หมายถึง ผู้ป่วยสงสัยหรือเข้าข่ายที่มีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยวิธี RT-PCR ยืนยัน

แต่อย่างไรก็ตามเราควรป้องกันตัวเองจากโรคฝีดาษลิงโดยการการเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และแอลกอฮอล์เจล และไม่ควรตื่นตระหนกจนเกินไป เพิ่มความอุ่นใจด้วยการมองหา ประกันฝีดาษลิง อย่างเช่น ประกันสุขภาพ เบี้ยเริ่มวันละ 20 บาท ผ่อน 0% ไม่ต้องสำรองจ่าย สนใจคลิกเลยที่นี่ หรือโทร 1737 ตลอด 24 ชั่วโมง

READ MORE :